Thyroid gland
ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) ติดอยู่กับหลอดลมและกระดูกอ่อน ต่อมนี้มี 2 พู เชื่อมติดกันด้วยเนื้อเยื่อ isthmus ลักษณะของต่อมประกอบด้วยเซลล์ฟอลลิเคิล(follicle) ภายในมีสารที่หลั่งมาจาก ฟอลลิเคิล มีลักษณะเป็น colloid เรียกว่า thyroglobulin ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมเป็นกรดอะมิโน สารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์คือกรดอะมิโนไทโรซิน(tyrosin) ซึ่งสังเคราะห์ได้สองชนิดคือ tetraiodothyronineหรือ thyroxine(T4) และ Triiodothyronine(T3)
หน้าที่และบทบาทของฮอร์โมนไทรอยด์
- เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
- มีผลต่อระบบประสาท ขาดฮอร์โมนการทำงานของระบบประสาทจะเชื่องช้า
- มีผลต่อเมตาบอลิซึม กระตุ้นการสร้างกลูโคส ถ้าขาดฮอร์โมน เกิดการสะสมของสารเมือกใต้ผิลหนัง และอ้วนฉุ เรียกว่า Myxoedema
ความผิดปกติเนื่องจากฮอร์โมน
- Goiter ต่อมไทรอยด์ขยายใหญ่ เนื่องจากต่อมทำงานมากเกินไปเพราะขาดไอโอดีนมาใช้ในการสร้างฮอร์โมน
- Hypothyroidism ภาวะที่ไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยกว่าปกติ
- Cretinism คือ Hypothyroidism ที่กิดในเด็ก
- Myxedema คือ Hypothyroidism ที่เกิดในผู้ใหญ่ มีอาการผิวแห้งผิวหยาบ
- Hyperthyroidism เนื่องจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้มีอาการของโรค Grave's Disease คือ คอหอยพอกและตาโปน
การควบคุมการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน
ฮอร์โมนนี้ถูกควบคุมโดย TSH ถ้าระดับของ T4และ T3ลดลงจะกระตุ้น ไฮโปทาลามัสให้หลั่ง TRH เพื่อกระตุ้นการหลั่ง TSH ซึ่ง TSH จะกระตุ้นการสร้าง T4 และ T3
- Hyperthyroidism เนื่องจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้มีอาการของโรค Grave's Disease คือ คอหอยพอกและตาโปน
การควบคุมการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน
ฮอร์โมนนี้ถูกควบคุมโดย TSH ถ้าระดับของ T4และ T3ลดลงจะกระตุ้น ไฮโปทาลามัสให้หลั่ง TRH เพื่อกระตุ้นการหลั่ง TSH ซึ่ง TSH จะกระตุ้นการสร้าง T4 และ T3
นอกจากนี้ต่อมไทรอยด์มี parafollicular cell หรือ ซีเซลล์(C-Cell) สร้างฮอร์โมน แคลซิโทนิน(Calcitonin) ลดปริมาณแคลเซียมในเลือด เมื่อระดับแคลเซียมในเลือดมากขึ้น ทำให้การหลั่งฮอร์โมนแคลซิโทนินมากขึ้น